แบบทดสอบปลายภาคเรียนรายวิชาเคมี เรื่อง “เคมีอินทรีย์-ชีวโมเลกุลและปิโตรเคมี” ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 40 ข้อ เวลาใน
แบบทดสอบปลายภาคเรียนรายวิชาเคมี
เรื่อง “เคมีอินทรีย์-ชีวโมเลกุลและปิโตรเคมี” ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
จำนวน 40 ข้อ เวลาในการทำข้อสอบ 90 นาที
*********************************************************
1. สารเคมีส่วนใหญ่ได้มาจากสิ่งมีชีวิตชนิดใด
1. พวกแร่ธาตุต่าง ๆ 2. พืช 3. สัตว์ 4. ถูกทุกข้อ
2. นักวิทยาศาสตร์ชนชาติใด พบว่าสารอินทรีย์ประกอบด้วยธาตุหลักสามธาตุ
1. เยอรมันนี 2. อังกฤษ 3. เวียดนาม 4. ฝรั่งเศส
3. สารประกอบแอโรมาติกชนิดหนึ่งมีวงเบนซีนเป็นองค์ประกอบอยู่ 1 วง มีสูตรโมเลกุลเป็น C7H8Oสารประกอบนี้มีโครงสร้างเป็นไปได้ทั้งสิ้นกี่แบบ
1. 3 แบบ 2. 4 แบบ 3. 5 แบบ 4. 6 แบบ
4. สารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดใดต่อไปนี้ เมื่อทำปฏิกิริยากับคลอรีนในที่มีแสงแล้วให้ผลิตภัณฑ์ที่มี
จำนวนไอโซเมอร์ที่เป็นไปได้มากชนิดที่สุด
5. นักเคมีชาวสวีเดน เริ่มใช้คำว่า “ เคมีอินทรีย์” Corganic chemistry เป็นครั้งแรกปี ค.ศ. ใด
1. 3.ศ. 1807 2. 3.ศ. 1808 3. 3.ศ. 1809 4. 3.ศ. 1810
6. สารอินทรีย์ทุกชนิดจะต้องมีธาตุใดเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยเสมอ
1. ออกซิเจน 2. ไนโตรเจน 3. คาร์บอนไดออกไซด์ 4. คาร์บอนมอนนอกไซด์
7. ส่วนประกอบของสารอินทรีย์ชนิดใดเป็นแหล่งกำเนินที่สำคัญของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
1. เชื้อเพลิงธรรมชาติ 2. พืช 3. สัตว์ 4. แร่ธาตุต่าง ๆ
8. ธาตุคาร์บอนมีอิเล็กตรอนในเซลล์นอกสุดมีกี่อนุภาค
1. 1 2. 2 3. 3 4. 4
9. โครงสร้างสารประกอบอะโรมาติกข้อใดไม่ถูก
10. สารประกอบใดที่ไม่มีไอโซเมอร์เรขาคณิต
11. สารอินทรีย์ที่มีสูตรโมเลกุลเป็น C3H6O ที่ไม่ทำปฏิกิริยากับโลหะ Na มีกี่ชนิด
1. 2 ชนิด 2. 3 ชนิด 3. 4 ชนิด 4. 5 ชนิด
12. ถ้าผสมแก๊ส C2H4 และ C2H6 ในสัดส่วนจำนวนโมลเท่ากัน หนัก 5.8 กรัม ทำให้เกิดปฏิกิริยาเผาไหม้กับแก๊สออกซิเจนอย่างสมบูรณ์ จะต้องใช้แก๊สออกซิเจนอย่างน้อยกี่กรัม
1. 6.5 2. 11.6 3. 20.8 4. 41.6
13. เพราะเหตุใดทำให้การดึงดูดระหว่างนิวเครียสกับอิเล็กตรอนในเซลล์นอกสุดน้อยลง
1. ขนาดอะตอมเล็กกว่าคาร์บอน 2. ขนาดอะตอมเท่ากับคาร์บอน
3. ขนาดอะตอมใหญ่กว่าคาร์บอน 4. ขนาดอะตอมไม่สามารถระบุได้
14. สารประกอบพวกที่คาร์บอนในโมเลกุลต่อกันเป็นแบบใด
1. โซ่ปิด 2. โซ่เปิด 3. วงแหวน 4. ถูกทั้ง ก และ ค
15. สารประกอบที่มีพันธะระหว่างคาร์บอนเป็นพันธะเดี่ยวทั้งหมดได้แก่พวกใด
1. แอลไคน์ 2. แอลคีน 3. แอลเคน 4. ไซโคลแอลคีน
16.นำตัวยาพาราเซตามอล ซึ่งมีสูตรโมเลกุลเป็น C8H9O2N มาทำปฏิกิริยาต่างๆ เพื่อวิเคราะห์หาโครงสร้างได้ผลการทดลองดังต่อไปนี้
1. สารละลายของพาราเซตามอลไม่มีฤทธิ์เป็นเบส
2. นำพาราเซตามอลไปต้มกับสารละลายกรด HCl ได้ผลิตภัณฑ์ 2 ชนิด คือ สาร A และ สาร B
3. สาร A มีกลิ่นเหมือนน้ำส้มสายชู และเมื่อทำปฏิกิริยากับ NaHCO3 จะได้ฟองแก๊สเกิดขึ้น
4. สาร B เป็นสารประกอบที่มีวงเบนซีน และสามารถละลายน้ำได้ดี
จ. เมื่อนำสาร B จำนวน 1 โมลมาทำปฏิกิริยากับกรด HCOOH จำนวน 2 โมล ได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสาร C ซึ่งมีสูตรโมเลกุลเป็น C8H7O3N
พาราเซตามอลควรมีโครสร้างดังข้อใด
17. จากข้อมูลในข้อ 16 สารใดไม่ทำปฏิกิริยากับโลหะ Na
1. พาราเซตามอล 2. สาร A 3. สาร B 4. สาร C
18. สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่งมีวงเบนซีนเป็นองค์ประกอบ มีสูตรโมเลกุลเป็น C7H7NO2 มีสมบัติดังนี้
1. เป็นของแข็งสีขาวละลายน้ำได้ดี
2. เมื่อทำปฏิกิริยากับ CH3OH ได้สารประกอบ C8H9NO2 ที่เป็นของเหลวมีกลิ่นหอมเหมือนองุ่น
3. เมื่อทำปฏิกิริยากับ CH3COCl จะได้สารประกอบ C9H9NO3 เป็นของแข็ง สามารถเรืองแสงสีน้ำเงิน
ได้เมื่อถูกบดหรือถู
สารประกอบอินทรีย์นั้นควรมีสูตรโครงสร้างตามข้อใด
19. ปฏิกิริยาที่โมเลกุลชนิดเดียวกับหรือคล้ายกับจำนวนมากคือข้อใด
1. ปฏิกิริยาการจัดเรียงใหม่ 2. โพลิเมอไรเซชัน
3. ปฏิกิริยาคอนเดนเซชัน 4. ออกซิเดชัน
20. โอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) เป็นยาต้านเชื้อหวัด Influenza A มีสูตรโมเลกุลเป็น C16H28N2O4 มีโครงสร้างดังนี้
แต่โดยปรกติจะผลิตขายในรูปสารประกอบเกลือ เช่น ยาทามิฟลู (tamiflu) ซึ่งเป็นเกลือกับกรดฟอสฟอริก โดยมีสูตรโมเลกุลเป็น C16H31N2PO8 ยา 1 แคปซูลบรรจุทามิฟลูไว้ 98.5 มิลลิกรัม ดังนั้นการรับประทานยาทามิฟลู1 แคปซูล จะเทียบเท่ากับการได้รับยาโอเซลทามิเวียร์กี่มิลลิกรัม
1. 75 2. 77 3. 100 4. 129
21. ยาโอเซลทามิเวียร์หรือทามิฟลูนี้เป็น prodrug คือ เป็นสารประกอบที่ยังไม่ได้ฤทธ์ิเป็นยา แต่เมื่อเข้าสู่
ร่างกายแล้วจะถูกทำปฏิกิริยาจนได้สารที่ออกฤทธ์ิเป็นยาออกมาในภายหลัง โดยยานี้จะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส ทำให้ได้ยาที่มีน้ำหนักโมเลกุลลดลง 28 หน่วยปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสดังกล่าวเกิดขึ้นที่หมู่ฟังก์ชันใดของโมเลกุล
1. อีเทอร์ 2. เอมีน 3. เอสเทอร์ 4. เอไมด์
22. โครงสร้างของเมลามีน
เมื่อกินเมลามีนเข้าไป จะเกิดตะกอนทำให้อุดตันในท่อของหน่วยไตและมีน้ำคั่งในไตได้ การตกตะกอนดังกล่าวน่าเกิดจากสาเหตุใด
1. เกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่างเมลามีน 2. เกิดปฏิกิริยากรด-เบสระหว่างเมลามีน
3. เมลามีนเกิดการจับตัวกับโปรตีนในน้ำนม 4. เมลามีนเกิดการรวมตัวกับน้ำ
23. สารละลายของสารอินทรีย์ในน้ำชนิดใดมีค่า pH ใกล้ 7 มากที่สุด
1. สบู่ 2. กรดอะมิโน 3. เกลือโซเดียม อะซิเตต 4. ผงชูรส
24. ประเภทของการแตกพันธะแบ่งออกเป็นกี่ชนิด
1. 1 2. 2 3. 3 4. 4
25.สารประกอบชีวโมเลกุลชนิดใดที่มีคุณสมบัติเป็นบัฟเฟอร์สำหรับกรด-เบสคือข้อใด
1. กรดไขมัน 2. กรดอะมิโน 3. น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 4. คลอเรสเตอรอล
26. ถ้านำกรดอะมิโนสองชนิด คือ ไกลซีนและอะลานีน ชนิดละ 1 โมล มาต้มรวมกันโดยมีกรดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา จะได้ผลิตภัณฑ์เฉพาะที่เป็นสารประกอบไดเพปไทด์ทั้งสิ้นกี่ชนิด
1) 1 ชนิด 2) 2 ชนิด 3) 3 ชนิด 4) 4 ชนิด
27. การศึกษาปฏิกิริยาเคมีอินทรีย์คืออะไร
1. การศึกษาถึงเรื่องการเกิดพันธะ 2. การแตกพันธะของสารประกอบคาร์บอน
3. ถูกทั้ง ก และ ข 4. ผิดทุกข้อ
28. แหล่งธรรมชาติที่สำคัญของสารอินทรีย์มีกี่ชนิด
1. 2 2. 3 3. 4 4. 5
29. แหล่งธรรมชาติที่สำคัญของสารอินทรีย์มีอะไรบ้าง
1. พืชและสัตว์ 2. เชื้อเพลิงธรรมชาติ 3. ถ่านหิน 4. ถูกทุกข้อ
30. ปิโตรเลียมมีกี่สถานะ
1. 2 2. 3 3. 4 4. 5
31. ปิโตรเลียมที่เป็นก๊าซเรียกว่า
1. น้ำมันดิบ 2. แอลฟิลล์ 3. ก๊าซธรรมชาติ 4. ถูกทุกข้อ
32. ปิโตรเลียมที่เป็นของเหลวเรียกว่า
1. แอลฟิลล์ 2. น้ำมันดิบ 3. ก๊าซธรรมชาติ 4. ถูกทุกข้อ
33. ปิโตรเลียมที่เป็นของหนืดเรียกว่า
1. ก๊าซธรรมชาติ 2. แอลฟิลล์ 3. น้ำมันดิบ 4. ถูกทุกข้อ
34. สารประกอบไฮโดรคาร์บอน คือสารใด
1. สารที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจน 2. สารที่ประกอบด้วยออกซิเจนและคาร์บอน
3. สารที่ประกอบด้วยไฮโดรเจนและคาร์บอน 4. สารที่ประกอบด้วยน้ำและไฮโดรเจน
35. แหล่งกักปิโตรเลียมแสดงรูปเป็นรูปชนิดใด
1. รูปวงกลม 2. รูปเส้นตรง 3. รูปสามเหลี่ยม 4. รูปโค้ง
36. หินน้ำมันมีชื่อภาษาอังกฤษว่าอย่างไร
1. Ground State 2. Crudeoil 3. Asphalt 4. Oilshale
37. การเจาะปิโตรเลียมในประเทศไทยหลุมแรกเจาะที่ใด
1. อ่าวไทย 2. ทะเลอันดามัน 3. เกาะพีพี 4. เกาะช้าง
38. ลิกไนท์มีค่าคาร์บอนเฉลี่ยกี่เปอร์เซ็นต์
1. 75.0 2. 82.60 3. 93.5 4. 65.7
39. จงบอกลักษณะที่ถูกของลิกไนท์
1. มีเนื้อพลุน 2. มีเนื้อไม้ของพืชชัดเจน 3. เป็นมันวาว 4. ถูกทุกข้อ
40. จงบอกสูตรทั่วไปของสารประกอบอัลคีน
1. R - OH 2. R - t 3. R - O - R ง .R - CH - CH - R
เคมีของกล้วยๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น